ประโยชน์ของถั่วพู จัดเป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ลาว พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี และในปัจจุบันถั่วพูก็เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในฟลอริดาของอเมริกา
ประโยชน์ของถั่วพู
- ประโยชน์ของถั่วพู เป็นยอด อาหาร เหนือชั้นที่มีความเหนือกว่าพี่น้องตระกูลถั่วทั้งหลาย มีประโยชน์มาก และยังเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถนำมารับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น
- ประโยชน์ของถั่วพูเป็นพืชที่มีสารขัดขวางต่ำ จึงช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี เมื่อรับประทานถั่วพูแล้วร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ถึง 39.1-51.9% เลยทีเดียว
- การรับประทานถั่วพูอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง สามารถช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และยังส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย เพราะพืชตระกูลถั่วที่กินได้ทั้งฝักทั้งหลายจะมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส
- การรับประทานถั่วทั้งชนิดแห้งและสด เช่น ถั่วพู นอกจากจะได้เส้นใยอาหารมากแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
- ปัจจุบันนิยมปลูกถั่วพูไว้ตามริมรั้วหรือในสวนหลังบ้าน หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนาเพื่อใช้เป็นผักสวนครัว โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน รสมัน (ใช้กินเป็นผัก) และหัวใต้ดิน (ใช้กินเป็นอาหารแห้ง)
- คนไทยทั่วไปนิยมใช้ฝักอ่อนเป็นผักสดจิ้มรับประทานกับน้ำพริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำพริกปลาร้า หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัดกับน้ำมันหอย แกงเผ็ด ลวกราดน้ำกะทิ หรือทำเป็นยำถั่วพู นำมาหั่นเป็นเครื่องเคียงขนมจีน ใช้ผสมในทอดมันเช่นเดียวกับถั่วฝักยาว ส่วนทางภาคใต้ก็นิยมกินยอดอ่อน ฝักอ่อน และดอกอ่อนเป็นผักสด หรือนำไปต้ม นำไปผัด ใส่แกงส้ม ทำแกงไตปลาก็ได้ ส่วนชาวญี่ปุ่นก็ใช้ฝักอ่อนนำมาทอดเป็นเทมปุระ และในอินเดียและศรีลังกาก็นิยมนำฝักอ่อนมาดองไว้รับประทาน นอกจากนี้ยังใช้ปรุงกับอาหารและเครื่องเทศรสจัดได้ทุกชนิด
- ในบ้านเรามีการ รีวิว บริโภคหัว ถั่วพู ด้วยการนำมาต้มกินคล้ายกับหัวมัน โดยหัวใต้ดินของถั่วพูนี้จะมีประมาณของโปรตีนสูงถึงร้อยละ 20-30 เลยทีเดียว จึงมีการนำหัวมาแปรรูปเป็นแป้งสำหรับใช้ประกอบอาหาร หรือนำไปเชื่อมเป็นขนมหวาน หรือจะฝานเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาทอดกรอบเหมือนมันฝรั่งก็ได้ แถมยังเป็นอาหารขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย
- เมล็ดแก่มีน้ำมันอยู่ร้อยละ 16-18 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหารได้ และยังมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ ด้วย โดยในน้ำมันถั่วพูจะมีกรดโอเลอิก 39%, กรดไลโนเลอิก 27%, กรดบีเฮนิก, และกรดพารินาริก ซึ่งไม่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด นอกจากนี้ในน้ำมันถั่วพูยังมีสารโทโคฟีรอลในปริมาณที่สูงมากอีกด้วย โดยเป็นสารที่ทำให้น้ำมันมีรสหวานและอยู่ตัว มีประโยชน์ในเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี
- มีการนำ ถั่วพู มาใช้ในการรักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- สรรพคุณถั่วพู สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ แล้วปล่อยให้สัตว์กินแทนหญ้าเลี้ยงสัตว์ทั่วไป โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง และยังได้คุณค่าอาหารมากกว่าหญ้านัก minebeauty จึงช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ในดินเสื่อมโทรม