โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม โรคซึมเศร้าเป็นภาวะอารมณ์เศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกเฉยชา ไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งก่อให้เกิดอาการทางจิตได้มากมาย วันนี้ minebeauty เลยจะมาบอก อาการโรคซึมเศร้า เพื่อให้ทุกคนได้สังเกตอาการของตัวเองกัน
9 อาการโรคซึมเศร้า
- อาการโรคซึมเศร้า จะรู้สึกเศร้า เบื่อ หงุดหงิดง่าย ไม่มีความสุข หรืออาจจะรู้สึกโกรธ โมโห โดยมีความรู้สึกเหล่านี้วนเวียนมาอยู่เป็นประจำ เกือบทุกวัน
- ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบ รู้สึกไม่อยากทำงานอดิเรกที่ตนเองเคยชอบทำ เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา อ่านหนังสือ ดูละคร ดูทีวี หรือทำได้แต่รู้สึกไม่สนุกเหมือนเคย
- เบื่ออาหาร หรือกินมากจนเกินไป สำหรับบางคนอาจจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร เช่น รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง หรือกลับกันบางคนอาจจะรู้สึกเครียด ทำให้ทานอาหารเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารของตัวเองได้
- อาการโรคซึมเศร้าระยะแรก มีปัญหาเรื่องการนอน บางคนอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการนอน โดยอาจมีอาการนอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หลับยากหรือตรงกันข้ามบางคนอาจจะรู้สึกง่วงเพลียจนอยากนอนทั้งวันก็เป็นได้
- ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย ในผู้ป่วยบางรายอาจจะรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรเชื่องช้าลงกว่าที่เคย หรือมีอาการกระวนกระวาย และกระสับกระส่ายอย่างเห็นได้ชัดเจน
- อาการโรคซึมเศร้า จะเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกว่าตัวเองเหนื่อย เพลียง่ายกว่าแต่ก่อน หรือไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
- รู้สึกไร้ค่า บางคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีความหมาย หรือทำอะไรก็ไม่ดีไปเสียหมด ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง หรือเอาแต่โทษตัวเองในทุก ๆ เรื่อง
- สมาธิสั้น ความจำแย่ลง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองสมาธิสั้น และความจำแย่ลง ทำให้มีอาการเหม่อลอยหรือใจลอยบ่อย ๆ จนทำให้มีปัญหาด้านการตัดสินใจ และทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนเคย
- คิดเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง เริ่มมีการคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง หรือรู้สึกว่าชีวิตมืดมนไปหมดจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ และอาจร้ายแรงไปจนถึงการฆ่าตัวตาย
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
- ความแตกต่างทางด้านชีวภาพ ได้พบความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองในผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อโรคซึมเศร้ายังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด แต่อาจจะช่วยชี้นำไปสู่สาเหตุของโรคได้
- สารเคมีในสมอง สารสื่อประสาทในสมองส่งผลต่อความรู้สึก จากงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองและปฏิสัมพันธ์ของสารดังกล่าวกับวงจรระบบประสาท อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งสำคัญต่อการรักษา
- การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอาจจะเป็นตัวกระตุ้นภาวะซึมเศร้า โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร หรือหลังหมดประจำเดือน ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวนหากมีภาวะโรคไทรอยด์หรือโรคอื่น ๆ
- พันธุกรรม ความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้นหากสมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็น โรคซึมเศร้า มาก่อน
การป้องกันโรคซึมเศร้า
- อาหาร ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก
- การออกกำลังกายเพื่อ สุขภาพ ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
- การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องกาย ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงหรือยังเพลียอยู่
- การทำสมาธิ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
- การฝึกคิดบวก ป้อนความคิดทางบวกให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้