โดยส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่าท้องผูก (Constipation) คือ การที่ไม่มีการขับถ่ายหรือมีความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ รวมถึงการมีอุจจาระที่แข็งและยากต่อการขับถ่าย วันนี้ minebeauty เลยจะพาทุกคนไปดูว่า ท้องผูกเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบ
ท้องผูกเกิดจากอะไร
- ท้องผูกเกิดจากอะไร ปัจจัยแรกคือโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ แคลเซียมในเลือดสูง โรคทางสมองและไขสันหลัง เป็นต้น
- โรคของลำไส้ เช่น มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ลำไส้ตีบตัน ลำไส้บิดพับกัน ความผิดปกติที่ทวารหนัก เป็นต้น
- ยาที่รับประทานประจำ เช่น ยาแก้แพ้บางชนิด ยากันชัก ยาลดความดันโลหิต ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน ธาตุเหล็กแคลเซียมอลูมิเนียม เป็นต้น
- ท้องผูกเกิดจากอะไร ปัจจัยสุดท้ายคือ การทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักควบคุมการขับถ่ายทำงานผิดปกติ เช่น การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทำงานไม่ประสานกับการเบ่งหรือภาวะลำไส้แปรปรวน
อาการของท้องผูก
- อาการท้องผูกสาเหตุ คือ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
- อาการท้องผูกสาเหตุ มาจากอุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด
- ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง อาจมีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระร่วมด้วย
- อาการท้องผูก คือท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง
เมื่อท้องผูกแก้ได้อย่างไร
- การปรับเปลี่ยนการทานอาหารการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ได้แก่ รับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยสูง
- รับประทานยาระบายเป็นหลัก
- หมั่นดูแล สุขภาพ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ถึง 2 ลิตรต่อวัน
- สร้างกิจวัตรในการถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและให้เป็นเวลา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องและยาวนานโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
เมื่อท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง
- ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก
- ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
- ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
- ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
- ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ