การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โลหิตสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน ซึ่งการบริจาคเลือดจำเป็นต้องเตรียมตัว ศึกษาข้อห้าม และควรปฏิบัติตาม เพื่อให้ร่างกายของเราพร้อมที่สุด วันนี้ minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดูวิธีการ เตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด กัน
10 การ เตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด
- เตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด ควรนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงในเวลานอนปกติก่อนวันบริจาค
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอ
- ก่อนบริจาคเลือด ควรรับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนบริจาคเลือด
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้พลาสม่ามีความผิดปกติ
- ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณสารน้ำในร่างกายและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการบริจาคเลือด
- เตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด
- งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคเลือด 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดสามารถฟอกเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่รัดมากจนเกินไป และสามารถพับหรือดึงขึ้นมาเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
- การเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด หยุดรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดอื่น ๆ ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด
- การเตรียมตัวก่อนบริจาคเลือด หยุดรับประทานยาแก้อักเสบหรือยาอื่น ๆ อย่างน้อย 7 วันก่อนบริจาคเลือด
หลังบริจาคโลหิต
- พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการ และนั่งพักอย่างน้อย 15 นาที ให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1 วัน
- ไม่ควรรีบร้อนกลับ ควรนั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที
- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟท์ บันไดเลื่อน อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
- ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ ไม่ใช้กำลังแขนที่เจาะบริจาค เช่น ยกของหนัก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังการบริจาคโลหิต
- ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาทิ การเดินซื้อของ อยู่ในบริเวณที่แออัดหรืออากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น
- ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
- หลังจากบริจาคโลหิต ให้รับประทานอาหารตามปกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยโลหิตที่บริจาค
- รับประทานธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ด จนหมด ชดเชยเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคโลหิต และป้องกันการขาดธาตุเหล็ก เพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ
- การรับประทานธาตุเหล็กบำรุงโลหิต พร้อมกับเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น น้ำส้ม น้ำฝรั่ง หรือน้ำมะเขือเทศ จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี ยกเว้นชาเขียว เพราะจะไปขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก
คุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด
- อายุ 18 – 60 ปี
- น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กิโลกรัม
- สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ลมชัก
- นอนหลับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- ควรรับประทานอาหารก่อนบริจาคเลือดภายใน 4 ชั่วโมง
- ไม่อยู่ในระหว่างกินยาปฏิชีวนะ หรือยากันเลือดแข็ง
- ไม่ได้รับการถอนฟันภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด รวมทั้งไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อตามร่างกาย
- ไม่มีประวัติเคยเป็น หรือตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซี หรือเชื้อโรคเอดส์
- ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี
- ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีด
- ไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่มาจากการบริจาคเลือดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
- ผู้หญิงไม่อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร