โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง กรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ วันนี้ minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดู โรคมือเท้าปาก เพื่อเฝ้าคอยระวังและป้องกันให้ลูกหลานกัน
อาการของ โรคมือเท้าปาก
- โรคมือเท้าปาก หากผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปาก บริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น และจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคมือเท้าปาก
- โรค มือเท้าปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น coxsackievirus A16 และ enterovirus 71 กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง
ระยะการแพร่เชื้อของโรคมือเท้าปาก
- ระยะแพร่เชื้อเริ่มได้ตั้งแต่เขามีอาการ ตอนนี้ก็จะเริ่มมีเชื้อออกมาทางน้ำลาย แล้วก็อุจจาระแล้ว ยังสามารถที่จะแพร่ไปได้ จนกระทั่งถึงแม้ว่าโรคจะหายดีแล้ว เช่น ประมาณสัปดาห์หนึ่งหลังจากโรคหายแล้ว เรายังสามารถตรวจพบเชื้อในอุจจาระได้อีกเป็นระยะเวลาหนึ่ง
- ระยะที่แพร่เชื้อได้มากๆ ก็คือช่วงที่มีอาการ คือประมาณภายใน 7 วันแรก หลังจากเริ่มมีอาการ
การรักษาโรคมือ เท้า ปาก
- โรค มือเท้าปาก ยังไม่มียารักษาจำเพาะ หลักการรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาชาเฉพาะที่สำหรับแผลในปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ เด็กที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่าง ใกล้ชิด
วิธีดูแลและป้องกันโรคมือเท้าปาก
- โรคมือเท้าปากรักษา ความสะอาดล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือภายหลังการขับถ่าย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และใช้ช้อนกลางรับประทานอาหาร
- หมั่นดูแล สุขภาพ และสุขอนามัยให้ดี ตัดเล็บเด็กให้สั้น ป้องกันการเกา
- ไม่ควรนำเด็กไปในสถานที่ที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
- หากเด็กเป็นโรคนี้ไม่ควรไปโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ต้องแจ้งทางโรงเรียนทราบ และควรรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ ที่สำคัญผู้ปกครองควรสังเกตอาการหากมีอาการผิดปกติ ควรพาเด็กไปพบแพทย์โดยเร็ว