อาการเหงื่อออกมือ หรือที่เรียกกันว่า โรคเหงื่อออกมือ คืออาการของภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ มักเกิดขึ้นเฉพาะจุด อาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือรักแร้ วันนี้ minebeauty จะพาทุกคนมาดูว่า สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาโรคเหงื่อออกมือมีอะไรบ้าง
สาเหตุของ โรคเหงื่อออกมือ
- โรคเหงื่อออกมือ กลุ่มที่เหงื่อออกมือเพราะความผิดปกติจากโรคหรือ สุขภาพ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ และโรคหัวใจที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
- โรคหงื่อออกมือ hyperhidrosis กลุ่มที่เหงื่อออกมือโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ในชีวิตได้ง่าย
เหงื่อออกแบบไหนจัดว่าผิดปกติ
- เหงื่อออกมากจนเห็นได้ชัด แม้ในวันที่อากาศไม่ร้อน ไม่มีอาการตื่นเต้นหรือเครียด และไม่ได้เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย
- เหงื่อออกไม่เป็นเวลา
- เหงื่อออกมากจนรู้สึกว่ามีผลกระทบ หรือสร้างปัญหา ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน บางคนอาจมีเหงื่อออกมามากโดยเฉพาะบริเวณมือ จนเขียนหนังสือหรือจับสิ่งของไม่ได้ จะจับมือกับใครก็ไม่มั่นใจ
อันตรายจากเหงื่อออกมือมาก
- โรคเบาหวาน ลักษณะอาการ คือ จะมีเหงื่อออกมาก เหนื่อยหอบ คล้ายจะเป็นลม โดย เหงื่อออกมือ เท้า
- ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ลักษณะอาการ คือ จะมีเหงื่อซึมทั่วตัวและบริเวณฝ่ามือ และอาจมีอาการมือสั่น ผมร่วง หรือกระหายน้ำบ่อย ร่วมด้วย
- โรคเครียด ลักษณะอาการ คือ จะมีเหงื่อออกมากบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหน้าผาก และอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น ร่วมด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งโดยมากมักมีอาการเหงื่อออกมากช่วงเวลากลางคืน
- โรคหัวใจ ลักษณะอาการ คือ มีเหงื่อออกมากบริเวณมือ ร่วมกับอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานมากในการสูบฉีดโลหิต ความร้อนในร่างกายจึงเพิ่มสูงขึ้น
วิธีรักษาโรคเหงื่อออกมือ
- โรคเหงื่อออกมือรักษาด้วยการใช้ยาทา โดยตัวยาจะมีส่วนผสมของอะลูมิเนียมคลอไรด์ ที่ทำหน้าที่ลดการทำงานของต่อมเหงื่อที่มือ ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ประหยัดที่สุด
- รักษาด้วยการฉีดยา โดยยาที่ฉีดจะเป็นโบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการแก้ปัญหาริ้วรอยบนใบหน้า ซึ่งโบทูลินั่ม ท็อกซิน ที่ฉีดเข้าไปจะไปทำหน้าที่ยับยั้งสารสื่อประสาทที่จะไปเลี้ยงต่อมเหงื่อ ทำให้ต่อมเหงื่อไม่ได้รับกระแสประสาทที่ส่งมา จึงทำให้เหงื่อไม่ไหล
- โรคหงื่อออกมือhyperhidrosis รักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งปัจจุบันถือเป็นวิธีเดียวที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด โดยแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กเพียง 1 ซม. บริเวณใต้รักแร้ แล้วสอดเครื่องมือเข้าไปยังบริเวณช่องอกที่มีเส้นประสาทอัตโนมัติอยู่ ซึ่งมีหน้าที่หล่อเลี้ยงการทำงานของต่อมเหงื่อ จากนั้นแพทย์จะทำการจี้ไปที่ตัวปมประสาทเพื่อลดกระแสประสาทที่มากระตุ้นให้เหมาะสม เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงปิดแผลก็ถือเป็นอันเสร็จเรียบร้อย