โรค ไวรัสตับอักเสบบี คือ การอักเสบของเซลล์ตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับเชื้อมีแนวโน้มเกิด ภาวะตับอักสบเรื้อรัง ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ 90% มีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อน วันนี้ minebeauty เลยจะพาทุกคนมารู้จักกับโรค ไวรัสตับอักเสบบี กัน
โรค ไวรัสตับอักเสบบี สามารถรับเชื้อได้โดยวิธีใดบ้าง
- การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู
- การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
- การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90%)
- การถูกเข็มตำจากการทำงาน
- การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี
- ไวรัสตับอักเสบบี เฉียบพลัน จะมีอาการอ่อนเพลียไข้ตำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อาจจุกที่ลิ้นปี่หรือท้องด้านบนขวาร่วมด้วย โดยต่อมาจะมีตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ระยะนี้ตับจะอักเสบมากแล้วจะค่อยๆดีขึ้นจนกลับเข้าสู่ปกติพร้อมๆกับยังตาเหลืองต่ออีกสักระยะหนึ่ง ระยะนี้มีโอกาสหายจากโรคได้ด้วยตัวเอง แต่บางรายระยะนี้อาจมีภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับทรุดลงรวดเร็ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
- ตับอักเสบบี เรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ไม่สามารถหายได้เอง ซึ่งผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่ได้ตรวจติดตามรักษา มีโอกาสเสี่ยงโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ
การวินิจฉัยการรักษา
- แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ส่วนใหญ่หายเองได้โดยการพักผ่อน และรับประทานอาหารไม่มัน การให้ยา interferon หรือ lamivudine ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี
- ยาฉีดกลุ่ม Pegylated interferon ทำหน้าที่กระตุ้นภูมิต้านทานและควบคุมปริมาณไวรัส
- ยาต้าน ไวรัสตับอักเสบ ชนิดรับประทาน ทำหน้าที่กดการสร้างไวรัส ทำให้การอักเสบของตับลดลง
วิธีป้องกันตนเองจากไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจ สุขภาพ ร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ
- ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัส ตับอักเสบบี หากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
- ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์
- งดดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย