ข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า โดยต้นข้าว มีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้าในประเทศไทย ซึ่งข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมนำไปทานคู่กับ อาหาร ในทั่วโลก วันนี้ เว็บผู้หญิง minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดูลักษณะและความแตกต่างของ พันธุ์ข้าว แต่ละชนิดกัน
10 พันธุ์ข้าว ในประเทศไทย
- ข้าวกข43 หรือ RD 43 เป็นข้าวเจ้าพันธุ์หนึ่งที่ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่าง พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี ในปัจจุบันจะพบแหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่
- พันธุ์ข้าว ขาวกอเดียว 35 เป็นข้าวขาวเมื่อหุงสุกจะมีลักษณะร่สน ค่อนข้างแข็ง หุงขึ้นหม้อ ไม่แฉะ ไม่กระด้าง ไม่บูดง่าย ไม่เหม็นกลิ่นสาบ แม้จะเป็นข้าวเก่า ถือเป็นข้าวที่ถูกปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์จากข้าวพื้นเมือง โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สำนักวิจัยพัฒนาข้าว กรมการข้าว
- สายพันธุ์ข้าวในไทย ข้าวทับทิมชุมแพ เป็นข้าวทรงต้นเตี้ย และไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งปี เมล็ดใหญ่ เรียวยาวมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เมื่อหุงสุกจะมีสีแดงราวกับเมล็ดทับทิม ถือเป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ โดยศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
- ข้าวผกาอำปึล หรือ ปะกาอําปีล เป็น สายพันธุ์ข้าว จ้าวพื้นถิ่นเมืองสุรินทร์ ผกาอำปึล แปลว่า “ข้าวดอกมะขาม" ซึ่งเป็น ข้าวที่มีถิ่นกําเนิดแถบตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา เมื่อสุกแก่เปลือกของข้าวมีสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม และสีดําคล้ำ ในเปลือกเดียวกันเหมือนสีของดอกมะขามซึ่งเป็นที่มา ของชื่อ ผกาอำปึล
- พันธุ์ข้าว มะลินิลสุรินทร์ เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ถือเป็นข้าวกล้องสีดำ มีเมล็ดเรียวยาว โดยมีคุณปะโยชน์ทางโภชนาการอยู่มากมาย มีปริมาณอไมโลสต่ำ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ คุณภาพข้าวสุกนุ่มและมีกลิ่นหอม ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์มีโปรตีนเป็น 2 เท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายอาทิเช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง โพรแตสเซียม แคลเซียม และวิตามินบีหลายชนิด
- ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สํานักวิจัย และพัฒนาข้าว คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ได้จาก การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต่างสีพันธุ์พื้นเมืองไวต่อแสง พันธุ์มะลิแดงเบอร์ 54 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ปี 2548
- ข้าวพันธุ์หอมกระดังงา เป็น สายพันธุ์ข้าว พื้นเมืองที่มี การปลูกในจังหวัดนราธิวาส พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อําเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยข้าวพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมคล้าย ดอกกระดังงาเป็นลักษณะเฉพาะ เมล็ดข้าวมีสีน้ําตาลเข้ม รูปร่างยาวรี ข้าวกล้องมีสีแดง เป็นพันธุ์ข้าวกล้องที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคข้าว เพื่อสุขภาพ
- ข้าวหอมมะลิแดง เป็นข้าวเจ้าไวต่อแสง ปลูกในฤดูนาปี จะออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันสั้น เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม และถือเป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์จากข้าวพันธุ์พื้นเมือง โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
- ข้าวเหนียวดำลืมผัว เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ข้าวลืมผัว จัดเป็นข้าวเหนียวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงดำ ใบเขียวม่วง ไวต่อช่วงแสง อายุสั้น เก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนตุลาคม ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ปล้องสีเหลืองอ่อน
- ข้าวเจ้าพันธุ์หอมใบเตย 62 คือ เป็นข้าวนาหน้าฝนพันธุ์ดีในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยเกษตรกร ส่วนใหญ่เรียกชื่อข้าวพันธุ์นี้ว่า C85 มาตั้งแต่ก่อน ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว C85 จากแปลงเกษตรกร ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี