หมวดหมู่
minebeauty

เมนู

แค่คนคุย แต่ไม่มีสถานะ คุณกำลังเป็น “โรคกลัวการผูกมัด” ที่มีอยู่จริง

แค่คนคุย แต่ไม่มีสถานะ คุณกำลังเป็น “โรคกลัวการผูกมัด” ที่มีอยู่จริง

คุยกันอยู่บ่อย ๆ ทุกวันแต่พอจะเขยิบสถานะเขาก็หายไปเฉย ๆ ใครที่เจอแบบนี้ก็คงรู้สึกข้องใจว่าสิ่งที่ผ่านมาคืออะไรกันแน่ คนเราจะคุยกันเป็นประจำทุกวันแบบนี้ไม่คิดอะไรกันเลยจริง ๆ หรือ? เอาเป็นว่าอย่าพึ่งสรุปความคิดของคนที่ชอบกั๊กสถานะของหัวใจ เว็บผู้หญิง minebeauty อยากให้ทุกท่านมาลองทำความรู้จักกับ โรคกลัวการผูกมัด เสียก่อน หากพบว่าเป็น โรคกลัวการผูกมัด แก้ยังไง  มีอาการเป็นแบบไหน พร้อมทั้ง โรคกลัวการผูกมัด วิธีแก้ มีวิธีไหนบ้าง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความนี้กันเลยค่ะ

โรคกลัวการผูกมัดคืออะไร?

ในส่วนของโรคกลัวการผูกมัดจะอยู่ในสภาวะที่กลัวและตกใจ ซึ่งไม่เพียงเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่ต้องผูกมัดกับใครเพียงเท่านั้น แต่ยังกลัวการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะไม่ได้มีแค่ความรู้สึกกลัวการผูกมัดตัวเองกับใคร แต่ผู้ป่วยจะมีไลฟ์สไตล์วิตกและกังวลใจ ไม่สบายใจ อึดอัดใจจนทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้เลย จนทำให้โรคกลัวการผูกมัด วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเป็นหลักนั่นเอง

โรคกลัวความผูกมัด เกิดจากอะไรกันแน่

สาเหตุที่ทำให้เราเกิดเป็นโรคกลัวการผูกมัด ซึ่งจะมีหลากหลายปัจจัยด้วยกัน สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. กลัวหรือเคยมีประสบการณ์มาก่อนที่ถูกตัดความสัมพันธ์ โดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ
  2. พบเห็นความสัมพันธ์ในเชิงลบมากกว่าเป็นเชิงบวก
  3. เคยถูกทำให้เจ็บจากคนใกล้ชิดมาก่อน ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจจนทำให้เชื่อใจได้ยาก
  4. ตัดสินใจผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ เลยไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องสำคัญของชีวิต
  5. เติบโตมาในครอบครัวที่มีพ่อและแม่ แยกทางกัน
  6. กลัวความไม่แน่นอนในเรื่องความสัมพันธ์
  7. มีความรู้สึกว่ากลัวการตัดสินใจเลือกแล้วไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนั่นเอง

โรคกลัวการผูกมัดอาการจะเป็นอย่างไร

หากคุณเองเห็นพฤติกรรมที่เป็นแบบนี้กันอยู่บ่อย ๆ อาจจะแปลได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคกลัวการผูกมัดอยู่นั่นเอง

  1. มักจะเป็นฝ่ายจบความสัมพันธ์ก่อน หรืออาจจะหนีหายไปจากสถานการณ์ที่เราไม่สามารถตัดสินใจเลือกได้
  2. รักษาระยะห่าง และไม่เคยให้ความชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ บางทีก็อาจดูเหมือนมีใจ แต่บางทีก็ดูเหมือนไม่สนใจเลย
  3. ไม่เผยความในใจกับคนที่คุยอยู่ด้วย  ทำให้ไม่รู้ว่าจะรู้สึกมากน้อยแค่ไหน
  4. มักจะไม่เคยนัดวันเดตเลย หรือนักไปเที่ยวล่วงหน้า
  5. พยายามไม่ผูกมัดตัวเองในเรื่องความรัก หรือการกระทำว่ารัก ห่วงใจ ใส่ใจแม้แต่นิดเดียว
  6. แม้จะตกลงคบกันแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่เกินสัปดาห์เรื่องความสัมพันธ์ก็จบลง
  7. มีเพื่อนสนิทน้อย หรือไม่คบใครเลย
  8. ไม่เคยตกลงคบกับใครมาก่อน
  9. บางทีอาจจะไม่แน่น มักจะมีคำพูดเหล่านี้ออกมาอยู่บ่อย ๆ
  10. มีพฤติกรรมเจ้าชู้ และเปลี่ยนคนคุยไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนคู่นอน หรือพร้อม ๆ กันหลายคนอีกด้วย
  11. มักจะเป็นคนคาดเดาอะไรได้ยาก เอาแน่เอานอนไม่ได้เลย

โรคกลัวการผูกมัดจะรักษาได้จริงหรือไม่

หลักในการรักษาโรคโฟเบีย จะใช้วิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อปรับความคิดและผู้ป่วยแต่ละคน ความกังวลที่เคยมีอยู่ให้หายไป และให้ผู้ป่วยแต่ละคนเข้ารับการบำบัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดในเรื่องอดีตลดลงได้ ช่วยเพิ่มความเชื่อใจให้กับคนอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น และลดความวิตกกังวลใจในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น

โรคกลัวการผูกมัดมีอาการไม่รุนแรง ไม่ส่งผลเสียทางด้านกายภาพ แต่อาจทำให้เราไม่มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น จนทำให้ต้องเสียคนดี ๆ ไปแบบไม่ใช่เหตุ ดังนั้น หากเราพบว่าตัวเองไม่กล้ามีแฟน เพราะมีอาการกลัวการผูกมัดแบบนี้   หากใครที่กำลังเป็นโรคกลัวการผูกมัด วิธีแก้ ที่เราสามารถแก้ได้ด้วยตัวเองคือเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม แต่บางคนที่กังวลและสงสัยว่า หากเป็นโรคกลัวการผูกมัด แก้ยังไง ถึงจะหายนั้น เราแนะนำให้คุณทดลองทำตามข้อมูลในเบื้องต้นดูก่อน หรือไม่ก็ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจะดีที่สุดค่ะ

บทความน่าสนใจ

นวดอโรม่า (Aroma Massage) คือ ศาสตร์การนวดอีกแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นการใช้น้ำมันหอมระเหย เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญประกอบการนวด

โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แฮม เป็นชิ้นเนื้อสัตว์จากต้นขาหลังของสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุกร แฮมส่วนใหญ่ผ่านการถนอมอาหารและสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและดิบ

อาร์ติโชค เป็นพืชเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรปเขตเมดิเตอร์เรเนียน มีสรรพคุณทางยา สามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหาร

ชุดเดรส เป็นเสื้อผ้าที่ผู้หญิงหรือเด็กหญิงมักสวมใส่ ซึ่งเป็นเสื้อผ้าชิ้นเดียวที่มีกระโปรงยาวเท่าใดก็ได้ และสามารถเป็นทางการหรือลำลองก็ได้