โรคกระเพาะ อาหาร เป็นโรคสําคัญและพบได้บ่อย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานอาจการรับประทานไม่ตรงเวลา มีความเครียด หรือรับประทานยาที่กัดกระเพาะ ซึ่งอาการอาจมีความรุนแรงจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องหยุดงานหรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้น ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป มีความรู้เบื้องต้นจะมีประโยชน์ในการดูแลรักษา สุขภาพ ตนเองเบื้องต้น และป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธี
อาการของ โรคกระเพาะ อาหาร
- โรคกระเพาะอาการ จะมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้อ อาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร จะมีอาการปวดแสบ จุกแน่น อาจมีอาการคลื่นไส้ เรอเปรี้ยว กรณีที่มีแผลบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นมักมีอาการปวดท้อง หลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง จะปวดมากขึ้นในช่วงบ่าย เย็น ตอนดึก อาการจะดีขึ้นทันทีหลังรับประทานอาหาร ดื่มนม รับประทานยาลดกรด
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะ
- ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคกระเพาะคือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ดื่มกรด หรือ ด่าง ซึ่งทั้งกรด และด่างจะก่อให้เกิดการระคายเคือง และการอักเสบของเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร
- ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคกระเพาะ คือ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่ม กาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า เครื่องดื่มชูกำลัง มักทำให้อาการรุนแรงขึ้น จากการก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือก กระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้เซลล์เยื่อเมือกสร้างกรดเพิ่มขึ้น
- โรคจากที่น้ำดีจากตับซึ่งปกติจะอยู่เฉพาะในลำไส้เล็ก ท้นเข้าสู่กระเพาะอาหาร น้ำดีจึงก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร
- ความเครียด เพราะจะกระตุ้นให้เซลล์ กระเพาะอาหาร หลั่งกรดเพิ่มขึ้น ซึ่งกรดจะก่อการระคายเคือง และ การอักเสบต่อเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ น้ำอัดลม อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ช็อคโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น
- งดสูบบุหรี่
- อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรมีปริมาณมากเกินไป
- ถ้าเครียดพยายามลดความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- หมั่นออกกำลังกาย
- รับประทานยาลดกรด ยาน้ำ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ หรือยาเม็ด 1 - 2 เม็ด (เคี้ยวก่อนกลืน) วันละ 4 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็นหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนนอน กรณีมีอาการปวดท้องก่อนเวลายาสามารถรับประทานเพิ่มได้และควรรับประทานยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 4 - 8 สัปดาห์
- ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล minebeauty เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน
- รับประทานยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ