โรคจิตเภทคือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร วันนี้ minebeauty เลยจะพาทุกคนมารู้จักกับ โรคจิตเภท กัน
สาเหตุของ โรคจิตเภท
- ปัจจัยด้านชีวภาพ ได้แก่ กรรมพันธุ์ยิ่งใกล้ชิดกันมากก็มีความเสี่ยงมาก เช่น พี่น้องของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคนี้ 9 เปอร์เซ็นต์, ลูกที่พ่อหรือแม่ป่วย มีโอกาสเป็นโรคนี้ 13 เปอร์เซ็นต์ ระบบสารชีวเคมีในสมองทํางานผิดปกติ
- ปัจจัยทางด้านครอบครัวและสังคม ความเครียด ความกดดัน หรือการเลี้ยงดูบางอย่าง หรือเด็กที่ถูกปล่อยปละละเลย ทําให้เกิดอาการกําเริบของโรคจิต
อาการโรคจิตเภท
- โรคจิตเภท ความคิดหลงผิดที่พบบ่อย เช่น คิดว่ามีคนปองร้าย คิดว่าตนเองถูกควบคุมจากอำนาจภายนอก คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ มีอำนาจ หรือความสามารถพิเศษ
- โรค จิตเภท การรับรู้ อาการประสาทหลอนทางด้านต่าง ๆ ที่พบบ่อย คือ หูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดว่า หรือให้ทำตาม หรือไม่มีความหมาย
- การสื่อสาร พูดสับสน ไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องพูดเร็ว ไม่เชื่อมโยง หรือบางรายพูดน้อย ไม่ค่อยตอบคำถาม
- อาการ โรคจิตเภทคือ พฤติกรรมผิดจากเดิมเคยเป็น เช่น สกปรก แปลก วุ่นวาย ตะโกน โดยไม่มีอะไรกระตุ้น พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย บางรายขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว นั่งเฉย ๆ นาน ๆ ไม่สนุกสนาน
- อารมณ์ แสดงอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่สบตา
การรักษาโรคจิตเภท
- การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุม สุขภาพ อาการและลดการกำเริบซ้ำของโรค
- การฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยฝึกการเข้าสังคมและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย
- การทำจิตบำบัด โดยผู้เชี่ยวชาญพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น
- ครอบครัวบำบัด โดยแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องโรคและสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย
- กลุ่มบำบัด เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีเพื่อนคอยสนับสนุนให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
วิธีดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
- ให้เข้าใจว่าโรคนี้ไม่ใช่ตัวผู้ป่วย แต่เป็นโรคโรคหนึ่งที่ผ่านเข้ามา และเราต้องรีบขจัดมันออกไปจากตัวเราให้เร็วที่สุด
- รับประทานยาและมาตามนัดสม่ําเสมอ หากเกิดผลข้างเคียงใดๆจากยา ให้แจ้งแพทย์ทันทีเพื่อปรับยา หลีกเลี่ยงการปรับยาเอง หรือหยุดยาเอง เพราะอาจทําให้อาการกําเริบโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวได้ซึ่งจะเกิดผลเสียอย่างมากมายต่อทั้งตนเองและผู้อื่น
- สําหรับครอบครัว หลีกเลี่ยงใช้คําพูด หรืออารมณ์ที่รุนแรงต่อกัน เพราะจะกระตุ้นทําให้อาการของผู้ป่วยกําเริบได้และสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย ถ้าอาการเริ่มแย่ลงจากเดิม ให้พามาพบแพทย์ก่อนนัด