โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งและขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ก่อนจะลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นของร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก วันนี้ เว็บผู้หญิง minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดูสาเหตุและอาการของ โรคมะเร็งเต้านม กัน
ปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็งเต้านม
- อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- มีประวัติ สุขภาพ การเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
- มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็งเต้านม
- โรคมะเร็งเต้านมสาเหตุ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
- การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 (BRCA ย่อมาจาก BReast CAncer gene) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
- โรคมะเร็งเต้านมสาเหตุ การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
อาการของโรคมะเร็งเต้านม
- คลำได้ก้อนแข็งในเต้านม
- มีความเปลี่ยนแปลงของลักษณะผิวเต้านม มีก้อนขรุขระ หรือมีแผลที่ไม่หาย ผิวหนังแข็ง หรือมีสีเปลี่ยนแปลง
- โรคมะเร็งเต้านมอาการ ลักษณะของผิวเต้านมเห็นรอยรูขุมขนชัดขึ้น ซึ่งทำให้ดูคล้ายลักษณะของผิวส้มซึ่งเกิดจากมีเซลล์มะเร็งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังในบริเวณหลอดนํ้าเหลือง
- มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม
- หัวนมบุ๋ม
- โรคมะเร็งเต้านมอาการ เลือดออกจากหัวนม
- เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตามที่เต้านมเพียงข้างเดียว
ระยะของมะเร็งเต้านม
- มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก มะเร็งยังคงอยู่เฉพาะในเต้านม ต่อมนํ้าเหลืองที่รักแร้ยังไม่มีการลุกลามไปอย่างสำคัญ หมายถึง มักจะยังคลำก้อนผิดปกติที่เต้านมไม่ได้ และยังไม่มีการกระจายไปที่ใด
- มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ระยะนี้โรคมักจะเป็นค่อนข้างมาก เช่นก้อนมีขนาดใหญ่มากขึ้น มากกว่า 5 เซ็นติเมตรขึ้นไป หรือมีการลุกลามไปยังต่อมนํ้าเหลืองที่รักแร้ เช่น คลำ ได้ก้อนที่รักแร้ ยิ่งถ้าใหญ่หรือติดกับเนื้อเยื่อข้างใต้ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะห่างไกล
- มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย คือ มีการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะห่างไกล เช่น ปอด ตับ กระดูก สมอง เป็นต้น
วิธีการตรวจ
- ใช้เวลา 10-15 นาที เพื่อให้ได้ภาพเต้านมข้างละ 2 รูปคือ ท่าตรง และท่าด้านข้างขอบรักแร้ ทั้งนี้เพื่อที่แพทย์จะได้เห็นภาพของเนื้อเยื่อเต้านมอย่างชัดเจน และมีมิติใกล้เคียงความจริงที่สุด ซึ่งหน้าอกจะต้องถูกบีบกด ให้แบนลง ใช้เวลาเพียง 7 – 8 วินาที เพื่อให้เนื้อเยื่อกระจายตัว ทำให้ได้เห็นภาพที่ดีที่สุดของบริเวณที่ต้องการจะตรวจ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ตรวจรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บปวด หรือเป็นอันตรายแต่อย่างใด
หลักการรักษาโรคมะเร็งเต้านม
- หากตัวโรคไม่มีการแพร่กระจาย การรักษาหลักคือการผ่าตัด ส่วนการรักษาตามหลัง ได้แก่ ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาต้านฮอร์โมน การฉายรังสี ซึ่งขึ้นอยู่กับการผ่าตัด ร่วมกับชนิดของมะเร็งเต้านม ซึ่งได้จากการย้อมพิเศษเพิ่มเติม
- หากตัวโรค ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม ซึ่งไม่สามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่แรก แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปอวัยวะที่ไกลออกไป อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดหรือยาพุ่งเป้าก่อนการผ่าตัด
- หากตัวโรค มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆแล้ว การรักษาหลักคือการรักษาด้วยยา ซึ่งได้แก่ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า ยาต้านฮอร์โมน หรือ ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ส่วนการฉายรังสีนั้น จะทำเพื่อลดอาการที่เกิดจากการแพร่กระจาย เช่นอาการปวดจากการแพร่กระจายไปกระดูก หรือ ลดขนาดก้อน เพื่อลดอาการปวดศีรษะจากการแพร่กระจายไปสมอง