โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของ สุขภาพ ร่างกาย เมื่อเกิดการผิดปกติจึงทำให้เกิดอาการชักขึ้นมาได้ โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย วันนี้เราจึงพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคลมชัก กัน
สาเหตุของ โรคลมชัก
- อาการชัก เกิดจากการที่สมองมีการสร้างไฟฟ้าผิดปกติไปชั่วขณะ ทำให้มีอาการทางระบบประสาทชั่วขณะหนึ่ง อาจเป็นวินาทีหรือนาทีก็ได้ โดยอาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้หากแก้ที่สาเหตุได้ เช่น เนื้องอก โรคสมองอักเสบ การขาดวิตามิน เป็นต้น
- อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการชักแต่อาจไม่ใช่การชักเสมอไป เช่น อาการเกร็งที่อาจพบได้ในคนไข้ขณะเป็นลม เป็นต้น
- โรคลมชักเกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าในสมองลัดวงจรอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการชักขึ้นมาซ้ำๆโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดอาการ
อาการของโรคลมชัก
- อาการชัก แบบเหม่อลอย เป็นอาการชักที่มักเกิดขึ้นในเด็ก อาการที่โดดเด่นคือการเหม่อลอย หรือมีการขยับเขยื้อนร่างกายเพียงเล็กน้อย เช่น การกระพริบตาหรือขยับริมฝีปาก อาการชักชนิดนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียการรับรู้ในระยะสั้น ๆ ได้
- อาการชักแบบชักเกร็ง เป็นอาการชักที่ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยมักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบริเวณหลัง แขนและขา จนทำให้ผู้ป่วยล้มลงได้
- อาการชัก แบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการชักที่ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ผู้ป่วยที่มีอาการชักชนิดนี้จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อขณะเกิดอาการได้ จนทำให้ผู้ป่วยล้มพับ หรือหกล้มลงได้อย่างเฉียบพลัน
- อาการชักแบบชักกระตุก เป็นอาการชักที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ โดยอาจทำให้เกิดการขยับเขยื้อนในจังหวะซ้ำ minebeauty มักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบริเวณคอ ใบหน้า และแขน
- อาการชักแบบชักกระตุกและเกร็ง เป็นอาการชักที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อในร่างกายทุกส่วน ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งและกระตุก ส่งผลทำให้ผู้ป่วยล้มลง และหมดสติ บางรายอาจร้องไห้ในขณะที่ชักด้วย และหลังจากอาการบรรเทาลง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยเนื่องจากอาการชัก
วิธีป้องกันโรคลมชัก
- พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ
- ถ้าเด็กนั่งอยู่ให้จับเด็กเอนราบลงกับพื้น ตะแคงตัวไปด้านข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก
- วิธีแก้อาการชัก พยายามนำตัวเด็กไปยังที่โล่ง ห่างไกลของมีคม เช่น มุมโต๊ะ หรือวัตถุมีคมที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
- คลายเสื้อผ้าที่รัด ๆ กันคนมุงออกไปห่าง ๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเท
- หากพบว่าเด็กมีไข้ ให้พยายามเช็ดตัวลดไข้
- หากพบว่าร่างกายแข็งเกร็ง อย่าพยายามนวด ง้าง ดึง
- ห้ามนำ อาหาร สิ่งของยัดใส่ปากผู้ที่มีอาการชักเด็ดขาด นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้วยังอาจก่อให้เกิดอันตรายในช่องปากเช่นฟันหักอุดหลอดลม สำลัก อาเจียน ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
- หากทำได้ ควรจับเวลา หรือถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับแพทย์
- เมื่ออาการชักจบลง อย่าละเลย ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
- เมื่ออาการชักนานเกิน 5 นาที หรือมีอาการชักแล้วหยุดแล้วชักอีก
- โดยที่ยังไม่กลับมารู้สึกตัวดีในระหว่างชัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล