โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด วันนี้ เว็บผู้หญิง minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดูว่าโรคหัวใจมีอะไรบ้าง และแต่ละชนิดสามารถป้องกันหรือรักษาอย่างไรได้บ้าง
ชนิดของ โรคหัวใจ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ เหนื่อย อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้
- โรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าผิดปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม มักมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ บวมตามแขน ขา นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
- โรคหัวใจ พิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นม เลี้ยงไม่โต
- โรคลิ้นหัวใจ หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมาก จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- โรคหัวใจสาเหตุ มาจากอายุ การมีอายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหาย ตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
- เพศ ผู้ชายทั่วไปมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน
- โรคหัวใจสาเหตุ มาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพ่อแม่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 55 ปีสำหรับผู้ชาย และ 65 สำหรับผู้หญิง)
- สูบบุหรี่ สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดของคุณมีสภาวะหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- การกินอาหารแบบผิด ๆ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
- ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
- ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงโดยเฉพาะชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-cholesterol) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคเบาหวาน โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
- โรคอ้วน น้ำหนักส่วนเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
- การขาดการออกกำลังกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
- ความเครียด ปัจจัยเสี่ยงทางด้าน สุขภาพ จิตใจ อาจส่งผลไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิด อาการโรคหัวใจ มากขึ้น
- สุขภาพฟันที่ไม่ดี พบรายงานแพทย์ถึงโรคฟันและเหงือกอักเสบสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น