ไส้ติ่ง มีลักษณะเป็นท่อตันที่แยกมาจากบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น โดยตำแหน่งจะอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา การอักเสบของไส้ติ่งเป็นผลมาจากการอุดตันของรูท่อไส้ติ่ง ซึ่งไส้ติ่งอักเสบ คืออาการป่วยที่ทำให้รู้สึกปวดท้องรุนแรง แต่ยังมีหลายคนไม่สามารถแยกโรคได้ด้วยตนเองว่าอาการปวดท้องแบบไหน วันนี้ เว็บผู้หญิง minebeauty เลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรค ไส้ติ่งอักเสบ กันว่าเป็นอย่างไร
สาเหตุของ ไส้ติ่งอักเสบ
- ไส้ติ่งอักเสบเกิดจาก อาหารที่กินเข้าไปกลายเป็นอุจจาระแข็งตัว หรือภาวะต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณดังกล่าว ทำให้แรงดันในไส้ติ่งสูงขึ้น มีการสะสมของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ยังเกิดจากการอุดตันของสิ่งแปลกปลอม ก้อนเนื้องอก หนอนพยาธิได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผนังไส้ติ่งเกิดการเน่าและแตกส่งผลให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นอันตรายถึงชีวิต
อาการของไส้ติ่งอักเสบ
- ไส้ติ่งอักเสบอาการ ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรกที่ไส้ติ่งเริ่มอุดตัน จะมีอาการปวดท้องบริเวณรอบสะดืออย่างฉับพลัน จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร
- ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ไส้ติ่งเริ่มบวม โดยจะมีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หากมีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ไอ จาม จะรู้สึกเจ็บมากขึ้น บางรายอาจมีท้องเสียร่วมด้วย
- ไส้ติ่งอักเสบอาการ ระยะที่ 3 เป็นระยะที่อันตรายเพราะไส้ติ่งแตก และเชื้อแบคทีเรียกำลังแพร่กระจายในช่องท้องจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ขึ้น และหากไม่ได้รับการผ่าตัดจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้เสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ
- การตรวจ สุขภาพ ร่างกาย โดยแพทย์จะกดเบาๆบริเวณที่ปวด หากผู้ป่วยมีอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบอาการปวดจะแรงขึ้น หลังจากที่แพทย์ปล่อยมือที่กด แพทย์จะประเมินอาการท้องแข็งและอาการเกร็งท้อง แพทย์อาจทำการตรวจทางทวารหนักร่วมด้วย ในหญิงวัยเจริญพันธุ์แพทย์อาจทำการตรวจภายในเพื่อวินิจฉัยโรคทางสูตินรีเวชซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง
- การวินิจฉัยโรค ไส้ติ่งอักเสบ โดยการตรวจเลือด เมื่อร่างกายมีการติดเชื้อ จำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดจะสูงขึ้น
- การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจว่าอาการปวดเกิดจากโรคนิ่วหรือโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือไม่
- การสแกนวินิจฉัย แพทย์อาจให้ทำการเอกซ์เรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือ ตรวจด้วยคลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) บริเวณช่องท้อง เพื่อช่วยระบุโรคหรือตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ ของอาการปวดท้อง
การรักษา
- การผ่าตัด ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยจะทำการกรีดช่องท้องยาว 5-10 เซนติเมตรหรือ 2-4 นิ้วเพื่อตัดไส้ติ่งออก ส่วนการผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้องนั้น แผลจะมีขนาดเล็ก 2-3 แผลและใช้เครื่องมือผ่าตัดพิเศษ พร้อมกล้องวิดีโอเพื่อนำไส้ติ่งออก โดยการผ่าตัดผ่านกล้องนั้น ผู้ป่วยจะมีรอยแผลเล็กและฟื้นตัวได้เร็วกว่า แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยสูงอายุหรือเป็นโรคอ้วน แต่การผ่าตัดประเภทนี้อาจไม่เหมาะกับทุกคน แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในกรณีที่ไส้ติ่งแตกหรือเกิดฝี เพราะสามารถทำความสะอาดช่องท้องได้ดีกว่า ผู้ป่วยต้องพักในโรงพยาบาล 1-2 วันหลังการผ่าตัด
- การระบายฝีก่อนการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง หากเกิดการสะสมของหนองจนเกิดเป็นฝีหลังไส้ติ่งแตก แพทย์จะทำการระบายหนองออกจากฝีโดยการใส่ท่อระบายผ่านหน้าท้อง แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องหลังระบายหนองออกและควบคุมการติดเชื้อได้แล้ว