ศิลป์ พีระศรี หรือเรียกว่า ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย และบิดาแห่งวิทยาลัยศิลปากร ผู้ที่สร้างให้เป็นปึกแผ่นในวงการศิลปะไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าจนมาถึงในปัจจุบันนี้ เนื่องด้วยในวันที่ 15 กันยายน ทุก ๆ ปี ได้มีการกำหนดให้เป็น วันศิลป์ พีระศรี เพื่อเป็นการรำลึกถึง ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี ผู้ที่อุทิศทั้งชีวิตเพื่อนักเรียนจนวินาทีสุดท้ายนั่นเอง ส่วนบุคคลสำคัญท่านนี้จะมีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง minebeauty ได้รวบรวมข้อมูลไว้ให้ทุกท่านแล้วในบทความนี้ค่ะ
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดวันที่ 15 กันยายน 2435 อยู่ในเขตซานโจวันนี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอังกฤษ มีบิดาชื่อ Artudo Feroci และมารดา Santina Feroci อายุ 23 ปี สอบผ่านได้เป็นศาสตราจารย์ วิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ เรื่องการศึกษา ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เข้าศึกษาชั้นประถมในปี 2441 พอจบหลักสูตร 5 ปีแล้วก็เข้าโรงเรียนมัธยม 5 ปี หลังจากนั้นก็ได้เข้าศึกษาศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ 7 ปี และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นและช่างเขียน ตอนอายุ 23 ปี หลังจากไม่นานก็จบปริญญาศาสตราจารย์ ที่เป็นคนมีความรอบรู้เกี่ยวกับทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ปรัชญาและวิจารย์ศิลป์ นอกจากนั้นแล้ว ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็ยังมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนง จิตรกรรม และประติมากรรมอีกด้วย
ปี 2466 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ชนะการประกวดออกแบบเหรียญเงินตราสยาม ที่ได้จัดขึ้นในประเทศยุโรป ผลของการประกวดครั้งนี้ทำให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มีการเดินทางมารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากรในรัชกาลที่ 6 วันที่ 14 มากราคม 2466ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ
จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2484 ในประเทศอิตาลีพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร จนส่งผลให้ชาวอิตาเลียนได้มีการอาศัยอยู่ภายในประเทศไทย จนตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมันนีให้กับญี่ปุ่น แต่ทางรัฐบาลไทยได้มีการควบคุมตัวศาสตราจารย์ศิลป์เอาไว้เอง ก่อนที่จะให้ทางหลวงวิจิตรวาทการได้ดำเนินการโอนสัญชาติจากประเทศอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย พร้อมกับมีชื่อ นายศิลป์ พีระศรี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกเกณฑ์เป็นเชลยสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
สำหรับการวางหลักฐานทางด้านการศึกษาในช่วงแรก ๆ ทางศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา เป็นโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อว่า โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ในช่วงปี 2480 ซึ่งโรงเรียนได้มีการเปิดสอนหลักสูตรวิชาจิตกรรมและประติมากรรม และในช่วงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้สั่งให้แยกกรมศิลปากรออกมาจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้มาขึ้นอยู่กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีแทนนั่นเอง เนื่องด้วยจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของศิลปะที่เป็นวัฒนธรรมสำคัญ จึงได้มีคำสั่งให้ให้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรขึ้น
นอกจากนี้แล้วศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มีการมอบหมายทางรัฐบาลไทยให้มีการออกแบบปั้นและควบคุมในการหล่อพระราชานุสาวรีย์ที่มีความสำคัญของประเทศไทย หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีผลงานทางด้านศิลปะเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่กลายเป็นที่จดจำของลูกศิษย์มานาน โดยศาตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มีการหยิบยกคำสอนมาเตือนศิษย์ของตัวเอง โดยเฉพาะประโยชน์ ศิลปะยืนยาว การใช้ไลฟ์สไตล์ชีวิตที่ดี ชีวิตสั้น เพื่อให้ตระหนักถึงชีวิตมนุษย์ที่แสนสั้น เมื่อเปรียบเทียบการยืนยงของศิลปกรรมที่อยู่มานานนับร้อยพันปีนั่นเอง จึงได้มี วันศิลป์ พีระศรี ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กันยาน ทุก ๆ ปีนั่นเอง
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เป็นประวัติความเป็นมาของ ศิลป์ พีระศรี ที่ได้มีการกำหนดวันที่ 15 กันยายนทุก ๆ ปี เป็น วันศิลป์ พีระศรี ทำให้มีประชาชนรู้จัก ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี มากยิ่งขึ้น ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง โดยคนไทยทุกคนควรตระหนักและให้ความสำคัญอย่างมากที่สุด
นวดอโรม่า (Aroma Massage) คือ ศาสตร์การนวดอีกแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นการใช้น้ำมันหอมระเหย เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญประกอบการนวด
โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แฮม เป็นชิ้นเนื้อสัตว์จากต้นขาหลังของสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุกร แฮมส่วนใหญ่ผ่านการถนอมอาหารและสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและดิบ
อาร์ติโชค เป็นพืชเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรปเขตเมดิเตอร์เรเนียน มีสรรพคุณทางยา สามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหาร
ชุดเดรส เป็นเสื้อผ้าที่ผู้หญิงหรือเด็กหญิงมักสวมใส่ ซึ่งเป็นเสื้อผ้าชิ้นเดียวที่มีกระโปรงยาวเท่าใดก็ได้ และสามารถเป็นทางการหรือลำลองก็ได้
ช่องทางติดตามข่าวสาร